วิธีรักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน

ในการแพทย์แผนปัจจุบันมีวิธีการรักษาสะเก็ดเงินเบื้องต้นแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 

1.ยาทาผื่นสะเก็ดเงิน

มีการใช้ครีม/ยาทาบริเวณผื่นเพื่อแก้ปัญหาผื่นสะเก็ดเงินระดับกลางหรือเบาที่ไม่รุนแรงเกินไป มักจะมีการใช้ยาทาร่วมกับยารับประทานหรือการรักษาด้วยแสง กลุ่มยาที่ใช้สำหรับสะเก็ดเงินได้แก่

  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Topical corticosteroids) คือ ยาที่ใช้กันบ่อยสุด และแพทย์ผิวหนังมักจะสั่งจ่ายยานี้แก่ผู้ป่วย ทำหน้าที่ช่วยลดอาการอักเสบ แก้อาการคัน เป็นยาในกลุ่มสเตียรอยด์ 
    • ในกลุ่มที่มีฤทธิ์อ่อนจะใช้กับบริเวณผิวบอบบาง เช่นบริเวณใบหน้า ข้อพับต่างๆ และผื่นที่มีบริเวณกว้าง
    • แพทย์จะใช้กลุ่มที่มีฤทธิ์รุนแรงขึ้นสำหรับผิวหนังบริเวณที่ไม่บอบบาง หรือเป็นจุดเล็กๆ
    • ผลข้างเคียงในการใช้ระยะยาว อาจทำให้ผิวบอบบางแพ้ง่าย และอาจจะลดประสิทธิภาพลงไม่ทำงานได้ดีเหมือนเก่า ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เป็นยาชนิดที่เหมาะกับการใช้ในระยะสั้นๆเท่านั้น 
  • วิตามินดี (Vitamin D) ครีมที่มีส่วนผสมของวิตามินดีสังเคราะห์นี้ทำหน้าที่ชะลอการแบ่งเซลล์ผิวให้ช้าลง 
    • ผลข้างเคียง อาจเกิดการระคายเคืองผิว 
  • แอนทราลิน (Anthralin) ทำหน้าที่ยับยั้งการแบ่งตัวสร้างเซลล์ผิวใหม่ และยังช่วยกำจัดผื่นสะเก็ดทำให้ผิวเรียบเนียนขึ้น 
    • ผลข้างเคียง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิว และทำให้สีผิวคล้ำขึ้นในบริเวณที่ทายานี้ได้ มักจะทาในระยะเวลาสั้นแล้วรีบล้างออก
  • เรตินอยด์ วิตามินเอ (Topical retinoids) ทำหน้าที่ช่วยลดการอักเสบ 
    • ผลข้างเคียง เกิดการระคายเคืองผิวได้ง่าย ทำให้ผิวไวต่อแดด ดังนั้นแนะนำทาครีมกันแดดร่วมด้วยในระหว่างการใช้ นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงในรูปแบบทาจะน้อยกว่าแบบรับประทาน 
    • ชนิด Tazarotene (Tazorac, Avage) ไม่ควรใช้ในผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้หญิงให้นมบุตร หรือผู้ที่ตั้งใจจะตั้งครรภ์
  • ยาทากลุ่ม Calcineurin inhibitors) ทำหน้าที่ลดการอักเสบ และลดการขึ้นผื่น เหมาะเป็นพิเศษกับบริเวณผื่นที่ขึ้นบริเวณผิวบอบบาง เช่นรอบดวงตา ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่สามารถใช้ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ หรือ เรตินอยด์ได้ เพราะทำให้เกิดการระคายเคืองและเป็นอันตรายกับดวงตาได้
    • ผลข้างเคียง ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง 
  • ยา Salicylic acid ทำหน้าที่ช่วยกำจัดเซลล์ผิวตายให้ออกเร็วขึ้น พร้อมกับลดการเกิดผื่นใหม่ สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยา หรือสั่งทางแพทย์โรงพยาบาลคลินิกได้ มีทั้งในรูปแบบแชมพูและผลิตภัณฑ์ดูแลหนังศรีษะ มักจะใช้ร่วมกับยาทากลุ่มอื่น เช่น ยาทากลุ่ม Calcineurin inhibitors หรือ ยาทากลุ่มน้ำมันดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขึ้น 
  • ยาทากลุ่มน้ำมันดิน (Coal tar) เป็นสารสกัดจากถ่านหิน ทำหน้าที่ช่วยลดผื่น แก้อาการอักเสบและอาการคัน มีทั้งในรูปแบบแชมพูสระผม ครีมและน้ำมันทา และมีความเข้มข้นหลายระดับ 
    • ผลข้างเคียง อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวเช่นกัน และมักจะใช้ยุ่งยากบางด้าน เช่น สีติดตามเสื้อผ้า และมีกลิ่นแรง และไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร 
  • ครีมให้ความชุ่มชื้น (Moisturizer)
    • การใช้ครีมหรือสารให้ความชุ่มชื่นต่างๆเป็นการแก้ชั่วคราว โดยไม่ได้ใช้รักษาสะเก็ดเงิน แต่ใช้ช่วยลดอาการแห้งและคันของผิวเป็นหลัก สารให้ความชุ่มชื่นที่ได้ผลดีจะเป็นกลุ่มที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสม มักจะใช้ได้ผลดีกว่ากลุ่มโลชั่นหรือครีมทั่วไป แนะนำใช้ทาหลังอาบน้ำ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผิวมักจะแห้งเป็นพิเศษ 

2.การรักษาสะเก็ดเงินด้วยแสง (Light therapy/Phototherapy)

การใช้แสงในการรักษาสะเก็ดเงินจะใช้ได้ทั้งแสงธรรมชาติ และแสงสังเคราะห์ ตัวอย่างวิธีการที่ง่ายที่สุดคือการอาบแดด โดยมีการควบคุมช่วงเวลาและปริมาณที่ได้รับให้เหมาะสมก็เป็นการบำบัดด้วยแสงอย่างหนึ่ง 

นอกจากนั้นมักมีการใช้แสงอัลตราไวโอเลตสังเคราะห์ UVA หรือ UVB โดยอาจจะใช้เป็นแสงชนิดเดียวหรือสองชนิดร่วมกันในการบำบัด

  • แสงแดด – การได้รับแสงอัลตราไวโอเลตธรรมชาติ หรือแสงยูวี (UV) จากพระอาทิตย์โดยตรง รวมถึงแสงสังเคราะห์ จะช่วยลดอาการอักเสบ การเกิดผื่น และลดการผลัดเซลล์ผิวใหม่ที่เร็วเกินไป แต่ว่าจะต้องได้รับการควบคุมปริมาณที่สมดุลไม่ให้มากไปน้อยไป เพราะหากได้รับในปริมาณที่พอดีอาจช่วยบรรเทาผื่นสะเก็ดเงินได้ แต่ถ้าได้รับแสงแดดเข้มข้นหรือมากเกินไป อาจทำให้อาการแย่ลงและทำให้ผิวเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นก่อนบำบัดด้วยวิธีการนี้ ควรปรึกษาแพทย์และศึกษาให้ทราบรายละเอียดที่ครบถ้วนก่อน 
  • การฉายแสงอัลตราไวโอเลต UVB ชนิดคลื่นความถี่กว้าง (Broadband UVB phototherapy) – เช่นเดียวกันควรมีการควบคุมปริมาณที่เหมาะสม มักจะใช้ในการบำบัดผื่นที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยา 
    • ผลข้างเคียงในระยะสั้นอาจทำให้ผิวแดง ผิวแห้ง และอาการคันได้ แนะนำอาจใช้ร่วมกับยาทากลุ่มมอยเจอร์ไรเซอร์ที่ช่วยให้ผิวชุ่มชื่นขึ้น
  • การฉายแสงอัลตราไวโอเลต UVB ชนิดคลื่นความถี่แคบ (Narrow band UVB phototherapy) – เป็นวิธีการบำบัดสะเก็ดเงินแบบใหม่ ซึ่งอาจจะมีประสิทธิภาพดีกว่าชนิดคลื่นความถี่กว้าง โดยมักจะเข้าฉายแสงประมาณ 2-3ครั้งต่ออาทิตย์จนกว่าผื่นสะเก็ดจะดีขึ้น แล้วจึงลดปริมาณลง 
    • ผลข้างเคียง อาจทำให้เกิดปัญหาผิวไหม้ที่รุนแรงเรื้อรังได้ 
  • การรักษาแบบ Goeckerman therapy – เป็นการรักษาที่รวมการรักษาในรูปแบบ UVB กับการใช้น้ำมันดินไว้ด้วยกัน เพราะน้ำมันดินจะทำหน้าที่ช่วยให้ผิวมีผลตอบรับต่อการให้แสงมากขึ้น 
  • การรักษาผื่นผิวหนังโรคสะเก็ดเงินด้วยแสงอัลตราไวโอเลต เอร่วมกับสารเคมี (Psoralen plus ultraviolet A (PUVA) ) โดยจะมีการใช้แสงอัลตราไวโอเลตร่วมกับสารเคมีกลุ่ม Psoralens โดยจะมีทั้งรูปแบบยาทาและยารับประทาน ก่อนที่จะเข้ารับการฉายแสง UVA แสง UVA นี้จะเข้าสู่ผิวได้ลึกกว่า UVB และสารเคมีกลุ่ม Psoralens นี้จะทำให้ผิวหนังของเรามีการตอบสนองต่อการฉายแสง UVA มากขึ้น รูปแบบนี้มักใช้ในผู้ป่วยสะเก็ดเงินในระยะรุนแรง 
    • ผลข้างเคียง อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว ปวดแสบร้อน คัน คลื่นไส้อาเจียนได้เป็นผลข้างเคียงระยะสั้น และในระยะยาวอาจทำให้เกิดปัญหาผิวแห้งเสีย เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้ง่าย ฝ้ากระ และทำให้ผิวไวต่อแดด แพ้แดดได้ง่ายขึ้น และยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกและโรคมะเร็งผิวหนัง
  • เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer laser)  คือการบำบัดรักษาสะเก็ดเงินด้วยแสงอีกแบบหนึ่ง ใช้สำหรับผื่นระดับน้อยถึงปานกลาง จะช่วยบริเวณผื่นสะเก็ดเงินโดยไม่ทำอันตรายกับผิวหนังส่วนปกติ โดยจะมีการคุมแสง UVB แบบเข้มข้น ให้โดนผื่นโดยตรง เพื่อช่วยไม่ให้ผื่นขยายและป้องกันการอักเสบ การรักษาในแบบเอ็กไซเมอร์เลเซอร์มีความถี่ในการเข้ารับการรักษาน้อยกว่าการฉายแสงบำบัดกลุ่มอื่นๆ 
    • ผลข้างเคียงอาจทำให้เกิดรอยแดง หรือตุ่มพุพองได้

 3.ยารักษาสะเก็ดเงินชนิดรับประทาน หรือฉีด

ยารักษาสะเก็ดเงินในรูปแบบรับประทานหรือแบบฉีด ส่วนใหญ่จะใช้ในผู้ป่วยสะเก็ดเงินขั้นรุนแรง หรือไม่ตอบสนองกับการรักษาในรูปแบบอื่น แต่มักจะมีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรง จึงมักจะนำมาใช้ในระยะเวลาสั้นๆ และใช้สลับร่วมกับการรักษาในรูปแบบอื่น ยาสะเก็ดเงินที่มักใช้กันมีดังต่อไปนี้

  • เรตินอยด์ (Retinoids) มีการแนะนำใช้เรตินอยด์ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ค่อยตอบสนองกับการรักษาแบบอื่น 
    • ผลข้างเคียง อาจทำให้เกิดการอักเสบบริเวณริมฝีปาก และผมร่วงได้ และอาจทำให้เกิดผลเสียต่อการตั้งครรภ์และความผิดปกติในเด็กทารกแรกเกิด ต้องระวังอย่างมากโดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงไม่รับยากลุ่มนี้อย่างน้อย 3 ปีก่อนการตั้งครรภ์
  • Methotrexate เป็นยาชนิดรับประทาน ทำหน้าที่ช่วยลดการเกิดเซลล์ผิวใหม่ และต้านอักเสบ และในบางคนยังช่วยได้ในเรื่องชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนกลุ่มข้อต่ออักเสบที่มาจากสะเก็ดเงิน 
    • ผลข้างเคียง ในปริมาณที่น้อยอาจไม่แสดงผลเสียมาก อาจจะมีอาการท้องเสีย ท้องปั่นป่วน ไม่อยากอาหาร และความเหนื่อยล้าเพลียง่ายร่วมด้วยระหว่างการรักษา และหากใช้ในระยะยาว อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงหลายด้าน เช่น ปัญหาโรคตับเสื่อม การสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวแย่ลง เป็นต้น 
  • Cyclosporine จะเป็นตัวกดภูมิคุ้มกัน และมีผลประสิทธิภาพคล้ายยา Methotrexate  
    • ผลข้างเคียง ยาชนิดนี้จะใช้ในระยะสั้นเท่านั้น เช่นเดียวกับกลุ่มยากดภูมิคุ้มกันทั่วไป เพราะยาCyclosporine จะทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อและปัญหาสุขภาพต่างๆมากขึ้นในระยะยาว และยังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งและโรคความเสื่อมต่างๆ เช่น โรคไต โรคความดันสูง โดยเฉพาะยิ่งหากมีการเพิ่มโด้สปริมาณการทานและการทานต่อเนื่องในระยะยาวขึ้นก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น
  • กลุ่มยาที่ปรับเปลี่ยนภูมิคุ้มกัน (Biologics) ยากลุ่มนี้มักจะแนะนำใช้บำบัดผู้ป่วยสะเก็ดเงินในกลุ่มระดับกลางถึงระดับรุนแรง
    • ผลข้างเคียง ยากลุ่มนี้ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะว่ามีผลรุนแรงต่อระบบภูมิคุ้มกันของเรา และอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ถึงแก่ชีวิตได้เลย เช่น เชื้อวัณโรค ไข้หวัดใหญ่  
    • ตัวอย่างยาเช่น etanercept (Enbrel), infliximab (Remicade), adalimumab (Humira), ustekinumab (Stelara), golimumab (Simponi), apremilast (Otezla), secukinumab (Cosentyx) และ ixekizumab (Taltz) ยาเหล่านี้ส่วนใหญ่จะใช้วีธีฉีดเข้าสู่ร่างกาย และมักใช้ในผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาในรูปแบบอื่นๆ หรือผู้ที่มีปัญหาโรคข้ออักเสบจากสะเก็ดเงินร่วมด้วย 
  • กลุ่มยาอื่นๆ เช่น Thioguanine (Tabloid) and hydroxyurea (Droxia, Hydrea) อาจนำมาใช้ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ยาอื่นๆได้ 


ขอแนะนำอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยสะเก็ดเงิน

อาหารเสริมโรคสะเก็ดเงิน-ผื่นสะเก็ดเงิน


บทความอื่นที่น่าสนใจ

รักษาสะเก็ดเงิน

5 อันดับ ยาสมุนไพรยอดนิยมช่วยแก้โรคสะเก็ดเงินได้

โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคที่เกิดจากผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ในทางแผนปัจจุบันสาเหตุยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิกันในร่างกายจนทำให้เกิกการอักเสบ…

บอกลา 10 สาเหตุที่ทำให้สะเก็ดเงินเห่อ

ระวัง! 10 สาเหตุปัจจัยที่ทำให้โรคสะเก็ดเงินเห่อ

โรคสะเก็ดเงิน มีสาเหตุปัจจัยที่ทำให้ผื่นเห่อกำเริบได้หลายอย่าง ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด และมักจะเป็นหลายๆปัจจัยผสมกันจนทำให้ร่างกายแปรปรวนไป ที่สำคัญมีดังนี้…

โรคเรื้อน สาเหตุ

มารู้จักกับโรคเรื้อน(+เรื้อนกวาง) ตอนที่ 2 สาเหตุ

หากจะพูดถึงโรคเรื้อน จะต้องย้อนกลับไปที่ศาสตร์การแพทย์ยุคโบราณมีความคิดพื้นฐานว่าร่างกายของมนุษย์เรามีธาตุหลักทั้ง 4 ธาตุ คือธาตุดิน…